Welcome to my blogger

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557


        สำหรับในการเรียนในวันนี้ อาจารย์ได้ให้นำเสนอสื่อการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ที่อาจารย์เคยให้จับคู่ไปทำสื่อและนำสื่อที่เราทำไปให้เด็กทดลองเล่นและมานำเสนอว่าเด็กเล่นแล้วได้อะไรอย่างไร


รูปสื่อการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สำหรับรูปสื่อของดิฉันคือ โดมิโนเรขาคณิต


        วิธีการเล่น

            คว่ำโดมิโนทั้งหมดไว้ แล้วให้เด็กเลือกหยิกออกมาคนละ 5 แผ่น จากนั้น ให้เด็กหยิบอีก 1 แผ่นแล้วเปิดว่างไว้ตรงกลางวงที่เล่น จากนั้นให้เด็กคนที่ 1 ดูแผ่นที่ตนเองเลือกมาในมือว่ามีรูปเรขาคณิตเหมือนกับแผ่นที่เปิดไว้ตรงกลางหรือไม่ถ้ามีให้นำไปต่อ จากนั้นให้เด็กคนที่สองเล่นต่อ ถ้าเด็กคนไหนไม่มีแผ่นต่อที่มีรูปเดียวกับตรงกลางสามารถเปิดได้ใหม่อีก 1 แผ่นจากกองที่คว่ำไว้  ต่อจนกว่าแผ่นที่อยู่ในมือจะหมด   

        ประโยชน์ของสื่อ
           
             เด็กได้เรียนรู้รูปทรงเรขาคณิตต่างๆ เรียนรู้เรื่องสี

สำหรับรูปสื่อที่ชื่นชอบคือ สื่อ " ฝาแฝด " 


        เหตุผลที่ชื่นชอบ
              
              เพราะเป็นสื่อที่สร้างสรรค์ดีคะ เด็กๆสามารถนำสิ่งที่พบเจอในชีวิตประจำวันมาเปรียบเทียบกับรูปเรขาคณิตได้เช่นรูปปลา ตัวปลามีลักษณะกลมเหมือนรูปวงกลม  นอกจากนี้สื่อยังมีสีสันสดใสน่าสนใจ น่าเล่น เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นสื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างยิ่งคะ

        ความรู้ที่ได้รับหรับหรับวันนี้คือ ได้เห็นสื่อที่เพื่อนๆได้ออกมานำเสนอในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้เราสามารถนำสื่อเหล่านี้ที่เพื่อนๆได้นำเสอนไปต่อยอดเพื่อที่เราจะไปทำสื่อได้หลากหลายรูปแบบ และนำสื่อที่มีรูปแบบหลากหลายไปใช้ในการเรียนการสอนได้ในอนาคต



วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

     
        สำหรับในการเรียนวันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 เพื่อเขียนแผนการจัดประสบบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้สอดแทรกวิชาคณิตศาสตร์ผ่านกิจกรรมทั้งหมด 6 กิจกรรม คือ

1. กิจกรรมเสรี/ เล่นตามมุม
2. กิจกรรมสร้างสรรค์
3. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
6. เกมการศึกษา
     

 รูปการเขียนแผนของกลุ่มของเร
แผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาล 3 กิจกรม หยิบบอล






รูปการเขียนแผนของเพื่อนในกิจกรรมกลางแจ้งการเล่นน้ำ 
แผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาล 3 กิจกรม ตักๆเติมๆ





        ความรู้ที่ได้รับสำหรับในวันนี้คือ  เราสามารถนำรูปแบบการเขียนแผนของกลุ่มต่างๆไปประยุกต์ใช้กับการสอน เด็กปฐมวัยในแต่ละวันได้และสามารถนำไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอนของเราได้อีกด้วยคะ

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ.2557


         สำหรับในการเรียนในวันนี้ อาจารย์ได้มอบหมายงานกลุ่ม 2 งาน คือ
    1 ทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้ที่ 5 คือ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
    2 ทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้ที่ 4 คือ พีชคณิต

สำหรับกิจกรรมที่ 1
กลุ่มของพวกเราได้ทำ การจำแนกประเภท
การออกลูกเป็นตัวและการออกลูกเป็นไข่

รูปผลงานกิจกรรมที่1



 


สำหรับกิจกรรมที่ 2
กลุ่มของพวกเราได้ทำขบวนมด สื่อการสอนพืชคณิต

รูปผลงานกิจกรรมที่2



        
         ความรู้ที่ได้รับสำหรับในวันนี้คือ ได้เรียนรู้วิธีการทำสื่อการสอนเด็กเกี่ยวกับเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น และอีกสื่อคือสื่อการสอนพืชคณิต สำหรับในวันนี้ดิฉันได้เทคนิคจากการสอนเด็กจากกลุ่มเพื่อนๆที่ออกไปนำเสนอสื่ออย่างมากมายเลย เช่นเทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน เทคนิคการเสริมแรงให้เด็กๆอยากทำกิจกรรม และให้เด็กๆได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นของตัวเองด้วยค่ะ ดิฉันจะจดจำเทคนิคดีๆเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ค่ะ


วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

วันศุกร์ ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557


        สำหรับการเรียนในวันนี้ อาจารย์ได้ชี้แจ้งเกี่ยวกับงานสื่่อที่อาจารย์เคยสั่งให้ไปทำเป็นคู่ และได้บอกให้เป็นทำตามหัวข้อดังนี้เพื่อที่จะนำมานำเสนอหน้าชั้นคือ

  1. ชื่อสื่อ
  2. วิธีการเล่น
  3. เมื่อนำไปให้เด็กเล่นแล้วเกิดผลอย่างไรบ้าง
  4. ปัญหาที่พบ
  5. สรุปผลเกี่ยวกับสื่อที่ทำ 
        แต่ก่อนที่เราจะมานำเสนอนะเราต้องนำเอาสื่อที่เราได้ทำไปทดลองให้เด็กเล่นก่อนที่จะนำมานำเสอนด้วย
        
        หลังจากอาจารย์ชี้แจ้งเกี่ยวกับเรื่องสื่อเสร็จอาจารย์ได้สอนต่อเกี่ยวกับเนื้อหาต่อดังนี้

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
        - เด็กจะต้องได้เตรียมความพร้อมคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้อฐานการเรียนรู้ในชั้นปฐมวัย 
        สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
  1. จำนวน
  2. การวัด
  3. เรขาคณิต
  4. พีชคณิต
  5. การวิเคราะห์ข้อมูล ความน่าจะเป็น
  6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
        คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
  1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์คือ จำนวนนับ 1-20 เข้าใจหลักการนับ รู้จักเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย รู้ค่าของจำนวน รู้จักการเปรีบยเทียบ เรียงลำดับ การรวมและการแยกกลุ่ม
  2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลาคือ เปรียบเทียบ เรียงลำดับและวัดความยาวน้ำหนักปริมาตรได้ รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
  3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิตคือ รู้ตำแหน่งทิศทางระยะทาง รู้รูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
  4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูป ของรูปที่มีรูปร่างขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
  5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
  6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
          สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
         สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
        - มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ การอ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย การเปรียนเทียบจำนวน 
การรวมและการแยกกลุ่ม ความหมายของการรวม การร่วมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมเกิน 10 ความหมายการแยก การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10

         สาระที่ 2 การวัด
        - มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้อฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
 การเปรียบเทียบ การวัด การเรียงลำดับความยาว
 การเปรียบเทียบ การชั่ง การเรียงลำดับน้ำหนัก
 การเปรียบเทียบปริมาตร การตวง
เงิน ชนิดและค่าของเงิน
เวลา ช่วงเวลาในแต่ละวัน ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกวันเวลา

         สาระที่ 3 เรขาคณิต
        - มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้กจักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
        - มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปรียนแปลงรูปเรขาคณิต ที่เกิดจากการจัดกระทำ
ตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง การบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทางของสิ่งต่างๆ
รูปร่างเขาคณิตสามมิติและสองมิติ ทรงกลม ทรงเหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม การเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิต การสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิต

         สาระที่ 4 พีชคณิต
        - มาตรฐาน ค.ป.4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
แบบรูปและความสัมพันธ์ แบบรูปของรูปที่มี รูปร่างขนาดหรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

        สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
        - มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอได้
การรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ การำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย

         สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์และมีความคิกริเริ่มสร้างสรรค์

        ความรู้ที่ได้รับคือ ได้รู้เกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้รู้เกี่ยวกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิคศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ถูกต้องและสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้อย่างถูกต้องค่ะ



วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

       
        สำหรับการเรียนในวันนี้อาจารย์ติดประชุมเลย  อาจารย์เลยให้เราทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ในเรื่องรูปเลขาคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้นำอุปกรณ์มาให้คือ แบบรูปเลขาคณิตที่เป็น วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และอุปกรณ์ในการตกแต่งต่างๆ และอาจารย์ได้กำหนดหัวข้อไว้ว่าจะต้องนำรูปเรขาคณิต เลือกเพียง 1 รูป แล้วตัดมาติดลงบนกระดาษ A4 นำรูปทรงที่เราได้เลือกนำมาสร้างให้เกิดเป็นรูปสัตว์ 1 ชนิดโดยใช้สีหรืออุปกรณ์ตกแต่ง ตกแต่งตามความชอบและจินตนาการของแต่ละคน


รูปผลงานในวันนี้คือ กระต่ายน้อยน่ารัก


       ความรู้ที่ได้รับสำหรับวันนี้คือ การนำรูปเรขาคณิตมาสร้างให้เกิดเป็นสัตว์ต่างๆโดยใช้จิตนาการของเรา และเรายังสามารถนำวีธีการหรือเทคนิคต่างๆจากการที่ได้ดูผลงานของเพื่อนๆที่แต่ละคนได้นำรูปเรขาคณิตที่แตกต่างกันมาสร้างให้เกิดสัตว์ต่างๆ และเรายังนำวิธีการจัดกิจกรรมนี้ไปใช้ได้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้อีกด้วยคะ


วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556


        สำหรับการเรียนในวันนี้วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนองาน และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินการนำเสนอของเพื่อนแต่ละกลุ่ม สำหรับกลุ่มของของดิฉันได้เรื่อง วิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น แต่มีเรื่องที่เพื่อนกลุ่มอื่นมานำเสนออีกโดยมีหัวข้อและความรู้ที่ได้รับดังนี้

กลุ่มที่ 1 นำเสนอเรื่อง จำนวนและการดำเนินการ
ความรู้ที่ได้รับคือ การสอนให้เด็กเข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริงเด็กสามารถอ่านและเขียนตัวเลขได้นับเลขปากเปล่าจาก 1ถึง 20 เด็กสามารถนับจำนวนสิ่งของได้

กลุ่มที่ 2 นำเสนอเรื่อง การวัด
ความรู้ที่ได้รับคือ สอนให้เด็กเข้าใจถึงการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
เด็กวัดและบอกความยาวของสิ่งต่างๆรอบตัวได้ เช่น การวัดความสูงเพื่อน เด็กชั่งและบอกน้ำหนักของสิ่งต่างๆได้ เช่น การชั่งน้ำหนักของตัวเด็กเองและสามารถบอกน้ำหนักได้ว่าเท่าไร เด็กบอกชนิดและค่าของเงินได้ เช่น 1บาท 2บาท 5บาท 10บาท 

กลุ่มที่ 3 นำเสนอเรื่อง เรขาคณิต
ความรู้ที่ได้รับคือ สอนให้เด็กรู้จัก รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตเด็กรู้จักการจำแนกรูปเรขาคณิต ที่เด็กๆที่เห็นที่เหมือนหรือคล้าย ทรงกลม ทรงกระบอก สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงรี ได้
กลุ่มที่ 4 นำเสนอเรื่อง พีชคณิต
ความรู้ที่ได้รับคือ สอนให้เด็กเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์เด็กต่อแบบรูปให้เข้าชุดกับแบบรูปที่กำหนดได้

ส่วนสุดท้ายเป็นกลุ่มของดิฉัน
กลุ่มที่ 5 นำเสนอเรื่อง วิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
ความรู้ที่ได้รับคือ สอนให้เด็กรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและคิดถึงสิ่งที่น่าจะเก็ดถึง  เช่น การสุ่มหยิบลูกปิงปองในแก้ว ซึ่งลูกปิงปองมี 2 ลูก สีละลูกแล้วให้เด็กคาดว่าจะหยิบได้ลูกสีไหนบ้างเพราะอะไร

        ความรุ้ที่ได้รับสำหรับวันนี้คือ ได้รู้เทคนิคและวีธีการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ทำให้เราสามารถนำกิจกรรม เทคนิค วิธีการต่างๆที่เพื่อนๆได้นำเสนอไปใช้ในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ในห้องเรียนให้กับเด็กปฐมวัยได้ และนำข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่แนะนำไปปรับปรุงและพัฒนาเพื่อเป็นแนวทางในการเรียน การสอนต่อไปได้อีกด้วยคะ

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันศุกร์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

      
        สำหรับการเรียนในครั้งนี้เป็นการเรียนเกี่ยวกับ หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จุดมุ่งหมายสำหรับการจัดคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและ คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ที่ควรใช้กับเด็กปฐมวัย
       
หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-เด็กจะเรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัส จากการเล่นและการเรียนรู้จากของจริง
- เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบาย และสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆของคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
- ผสมผสานคณิตศาสตร์ไว้กับการเล่น
- ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตสาสตร์ในชีวิตประจำวัน


จุดมุ่งหมายสำหรับการจัดคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.ให้เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
2.เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ
3.เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
4.เป็นการฝึกฝนคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
5.เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
6.ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง


ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.การสังเกต  ( Observation )
2.การจำแนกประเภท 
( Classifying )
3.การเปรียบเทียบ
 ( Comparing )
4.การจัดลำดับ 
 ( Ordering )
5.การวัด 
( Measurement ) 
6.การนับ 
 ( Counting )
7.รูปทรงและขนาด 
( Sharp & Size )

คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ที่ควรใช้กับเด็กปฐมวัย
ตัวเลข - น้อย น้อยมาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
ขนาด - ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญ่ที่สุด สูง เตี้ย
รูปร่าง - สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง สั้นกว่า แถว
ที่ตั้ง - บน ต่ำ ขาว สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
ค่าของเงิน - สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท


      หลังจากอาจารย์สอน อาจารย์ได้แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ ให้วาดวงกลม 1 วง กลางหน้ากระดาษ แล้วให้เขียนตัวเลขที่ตัวเองชอบลงไป และอาจารย์ก็ให้นำกระดาษสีต่างๆที่แจกนั้นมาทำเป็นกลีบของดอกไม้ โดยที่มีจำนวนกลีบตามตัวเลขที่ตัวเองเขียนลงไปในวงกลม และตกแต่งให้สวยงาม


รูปผลงานในวันนี้คือ รูปดอกไม้แสนสวย


        ความรู้ที่ได้รับ คือ ในการจัดกิจกรรมนี้ให้กับเด็กเป็นการจัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใช้จินตนาการโดยที่ได้สอดคล้องคณิตศาสตร์ลงไปในกิจกรรมนี้ คือ มีตัวเลข การนับเด็กจะต้องคิดและนับจำนวนกลีบดอกเพื่อที่จะให่ได้กลีบดอกเท่ากับจำนวนตัวเลขที่เขียนไว้ในวงกลม  เด็กก็จะเกิดความสนุกสนานในการทำกิจกรรมและ ได้รับความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกับการทำกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านต่างๆอีกด้วยคะ